ประวัติความเป็นมา
จากการที่รัฐบาลได้กำหนดให้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 ยุทธศาสตร์การบริหารตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาระบบบริหารงานมหาวิทยาลัย ให้มีการพัฒนาบุคลากรในมหาวิทยาลัยทุกกลุ่ม ทุกระดับให้มีพื้นฐานความรู้ร่วมกัน (Knowledge Management)
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวนี้เอง ดังนั้น ศ.เกียรติคุณนายแพทย์วิจารณ์ พานิช (นายกสภา มหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะนั้น) จึงได้สร้างเครือข่ายการจัดการความรู้มหาวิทยาลัย หรือ UKM ขึ้น โดยมีสมาชิกก่อตั้ง 6 องค์กร จาก 5 มหาวิทยาลัยกับ 1 องค์กร (สคส.) มีการลงนามความร่วมมือเป็นเครือข่าย UKM ขึ้นที่ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2547 และจัด workshop เพื่อเรียนรู้เครื่องมือ KM กันที่บ้านผู้หว่าน ระหว่าง 24 – 26 ธ.ค. 2547 ซึ่งทำให้ คณะ/สถาบัน/วิทยาลัย/สำนัก ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าว และในมหาวิทยาลัยมหิดล มีการจัดตั้ง MUKM ขึ้นพร้อม ๆ กันนั้นที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จัดตั้ง ศิริราช KM ขึ้น โดยมี ศ.เกียรติคุณนายแพทย์วิจารณ์ พานิช ซึ่งเป็นที่ปรึกษาหลัก และมีการใช้หลักการ KM อย่างได้ผลทั้งองค์กร (บ้านผู้หว่าน ศ.เกียรติคุณ น.พ.วิจารณ์ พานิช)
การจัดการความรู้ของหอสมุดและคลังความรู้ฯ
ยุคที่ 1
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล โดย นางสาวอุไรวรรณ วิพุทธิกุล รักษาการผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด (ม.ค. 2548- เม.ย.2551) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้ และเพื่อให้เป็นการสอดรับกับนโยบายของมหาวิทยาลัย จึงมีการขับเคลื่อนให้สำนักหอสมุดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในระยะแรก จัดทำเป็นโครงการ Library Forum โดยมีคณะทำงานจากหัวหน้าห้องสมุดคณะ/สถาบัน /วิทยาลัย ในวิทยาเขตศาลายา ทั้ง 6 แห่ง
ดำเนินกิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่ ก.พ. 2548 - ก.ย.2549 โดยจัดให้เป็นการนำเสนอความรู้ของบุคลากร ที่ได้ไปรับฟังบรรยาย / อบรม / สัมมนา / ดูงาน โดยจัดเตรียมเวที พร้อมเชิญชวนประชาสัมพันธ์ให้บรรณารักษ์จากทุกห้องสมุดในมหาวิทยาลัยมหิดลเข้าร่วมรับฟัง โดยมี น.ส. ลักขณา บำรุงชูเกียรติ เป็น ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมการจัดการความรู้ในองค์กร มีหน้าที่ 1) วิเคราะห์และนำเสนอแผนกิจกรรมการจัดการความรู้ของสำนักหอสมุด 2) รับผิดชอบการดำเนินงานกิจกรรมส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แ ละแบ่งปันความรู้ของสำนักหอสมุด 3) จัดระบบสร้างคลังความรู้สำหรับการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักหอสมุด และมีคณะทำงานจัดการความรู้สำนักหอสมุด ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ โดยใช้ ทฤษฏีการจัดการความรู้ที่นำมาใช้ประกอบได้แก่ โมเดลปลาทู ของ อ.ประพนธ์ ผาสุกยืด และแนวคิดการจัดการ KM จากงานเขียนของ ศ.เกียรติคุณ น.พ.วิจารณ์ พานิช
ยุคที่ 2
ปี พ.ศ. 2551 มีการสรรหาและแต่งตั้งคณะผู้บริหารชุดใหม่ และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด โดย ดร.สถาพร สาธุการ เป็นประธาน โดยมี นางสาวปัญจธร เตชวณิชย์พงศ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบริการและการจัดการความรู้ เป็นกรรมการและเลขานุการ
ปี พ.ศ. 2553 มีการปรับปรุงคำสั่งคณะกรรมการการจัดการความรู้ สำนักหอสมุด กำหนดให้มีหน้าที่ สนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการการจัดการความรู้ สำรวจความต้องการของบุคลากรสำนักหอสมุด เรื่องการจัดการความรู้ วิเคราะห์ ปรับปรุง และจัดทำแผนดำเนินงาน ซึ่งแบ่งการดำเนินงานออกเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม คือกลุ่ม KM กลุ่ม R2R กลุ่ม CoPs กลุ่ม Web Site ดำเนินกิจกรรม “ส่งต่อความรู้” ประกอบด้วย การแบ่งปันความรู้ที่เกิดจากบุคลากรทุกระดับได้รับการพัฒนาโดยการเข้าร่วมประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ศึกษาดูงาน โดยใช้วิธีการเล่าเรื่อง (Story Telling) และการจัดตั้งกลุ่มชุมชนนักปฏิบัติตามความสนใจ จำนวน 6 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มบริหารจัดการ กลุ่มที่ 2 กลุ่มงานเทคนิค กลุ่มที่ 3 กลุ่มงานบริการ กลุ่มที่ 4 กลุ่มไอทีและเทคโนโลยีการศึกษา กลุ่มที่ 5 กลุ่มพัฒนาความรู้ จากงานประจำเพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน และ พัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย R2R กลุ่มที่ 6 กลุ่มนันทนาการ มีการสร้างฐานข้อมูลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยโปรแกรม ELIB และจัดพื้นที่ Blog สำหรับชุมชนนักปฏิบัติ (CoPs) รับผิดชอบโดยสมาชิกของกลุ่ม
ยุคที่ 3
พ.ศ. 2553 โครงสร้างการบริหารงานของหอสมุดฯ มีการปรับเปลี่ยนตามประกาศ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงานของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2553 โดยอยู่ภายใต้ สำนักงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศและเทคโนโลยี โดยแต่งตั้ง น.ส.ลักขณา บำรุงชูเกียรติ เป็นหัวหน้าฝ่ายคลังความรู้ และรักษาการหัวหน้างานการจัดการความรู้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2555 – เม.ย.2559 ดำเนินงานร่วมกับคณะกรรมการการจัดการความรู้ โดยมีนางสาวพรจิตต์ หมีงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธาน จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามแผนการดำเนินงาน และ มีการจัดทำเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม WordPress และปรับปรุงฐานข้อมูล Library KM ด้วยโปรแกรม Drupal จัดเก็บรายงานการประชุม/สัมมนา/ฝึกอบรม และศึกษาดูงาน และผลงานจากเวทีส่งต่อความรู้
ปัจจุบันการจัดการความรู้ ดูแลรับผิดชอบโดย งานจัดการความรู้ สังกัดฝ่ายคลังความรู้ สำนักงานพัฒนาทรัพยากรและเทคโนโลยีห้องสมุด มีสถานที่ตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 อาคารเดิมหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลโดย นางสาวลักขณา บำรุงชูเกียรติ
ภารกิจ
- จัดทำแผนปฏิบัติการ การจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์หอสมุดและคลังความรู้ฯ
- สร้าง / แสวงหาและจัดทำคลังความรู้ / คู่มือ [SIPOC]
- การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ / ชำนาญ เพื่อสกัดและองค์ความรู้การปฏิบัติงาน
- แสวงหาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆเพื่อจัดทำ Expert List
- ดำเนินงานสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
- จัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้ในฐานข้อมูลคลังสารสนเทศสถาบัน
- ปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
ผลการดำเนินงาน
ที่ | หมายเลขโครงการ | ชื่อโครงการ | สถานะ |
---|---|---|---|
- | - | - | - |
ปีงบประมาณ 2560
ที่ | หมายเลขโครงการ | ชื่อโครงการ | สถานะ |
---|---|---|---|
1 | 60-S1-O1-03 | โครงการจัดทำวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล | อยู่ระหว่างดำเนินการ |
2 | 60-S1-O1-23 | โครงการรวบรวมบทเพลงพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา | รายงานผลโครงการ |
3 | 60-S1-O4-05 | โครงการจัดทำคลังภาพบุคลากรหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างปี 2529-2540 | รอเสนอโครงการ |
4 | 60-S4-O5-01 | โครงการจัดทำบันทึกความรู้จากผู้ใกล้เกษียณอายุราชการ | อยู่ระหว่างดำเนินการ |
5 | 60-S4-O5-02 | โครงการเผยแพร่คู่มือการปฏิบัติงานของบุคลากร หอสมุดและคลังความรู้ ในฐานข้อมูลการจัดการความรู้ | รอเสนอโครงการ |
6 | 60-S4-O7-06 | โครงการปรับปรุงพื้นห้องของห้องสมุดดนตรีสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ | รายงานผลโครงการ |
ติดต่อสอบถามได้ที่
ชั้น 2 อาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
0-2800-2680-9 ต่อ 4258
0-2441-9580
พื้นที่รับผิดชอบ
บุคลากรงานการจัดการความรู้

นางสาวศศิธร วงศ์โพธิสาร
Ms.Sasitorn Wongpothisarn
บรรณารักษ์
ศศ.บ. (บรรณารักษศาสตร์), ม.เชียงใหม่
MU-SUP รุ่นที่ 9 พ.ศ. 2555
sasitorn.von@mahidol.ac.th
0-2800-2680-9 ต่อ 4258