ความเป็นมา
ยุคเริ่มต้น (พ.ศ. 2549-2550)
โครงการพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยและผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลมีพัฒนาการมาเป็นลำดับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 โดยสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะนั้นซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการเป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศ ถึงแม้ว่าสารสนเทศทางวิชาการจะมีให้บริการหลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบฉบับพิมพ์และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก แต่จากการสำรวจผลงานวิชาการที่สร้างสรรค์โดยบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่ายังมีผลงานทางวิชาการอีกไม่น้อยที่ยังอยู่กระจัดกระจายตามที่ต่างๆ ทั้งที่จัดเก็บอยู่ที่ตัวเจ้าของผลงานและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นผู้จัดเก็บอย่างไม่เป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถสืบค้นหาสารสนเทศที่มีคุณค่าเหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ได้
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเล็งเห็นความสำคัญของผลงานทางวิชาการที่ปรากฏอยู่นอกเหนือจากฐานข้อมูลออนไลน์ อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาวิจัยของประชาคมมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงนักวิจัยและนักวิชาการทั่วไป จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยและผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลงานวิจัยและผลงานวิชาการของบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล โดยพัฒนาฐานข้อมูลกลางในการจัดเก็บ ประมวลผล และเผยแพร่ข้อมูล อีกทั้งเป็นเครื่องมือสืบค้นหาเอกสารงานวิจัยและผลงานวิชาการฉบับเต็มได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และครบถ้วนสมบูรณ์
การดำเนินโครงการในระยะเริ่มแรกเมื่อ พ.ศ. 2549-2550 โดยมีห้องสมุดคณะ/สถาบันเข้าร่วมโครงการจำนวน 8 แห่ง* ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันวิจัยโภชนาการ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม และสถาบันวิจัยประชากร สำนักหอสมุดได้จัดตั้งคณะทำงานจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยและผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ประกอบด้วยหัวหน้าห้องสมุดหรือผู้ประสานงานห้องสมุดคณะ/สถาบัน และผู้ประสานงานประจำคณะ/สถาบัน พร้อม ๆ กับพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บและประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป Greenstone (URL : http://intranet.li.mahidol/gsdl/index.php) และเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้สามารถลงรายการด้วยมาตรฐานเมตาดาตา โดยการให้ความรู้และดำเนินการฝึกอบรมโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศด้วยเมตาดาตา และเมื่อดำเนินโครงการได้ระยะหนึ่งประสบปัญหาด้าน Server และข้อจำกัดบางประการของโปรแกรมจัดการข้อมูล ใน พ.ศ. 2554 หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้รับจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อ Server ใหม่ที่มีขนาดใหญ่และมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลเป็นโปรแกรม DSpace version 1.6.2
ยุคสอง (พ.ศ. 2551 - ธันวาคม 2555) (กฤษฎาและศศิธร, สัมภาษณ์)
ยุคที่ สอง การดำเนินงานฐานข้อมูลหลายฐานเป็นภาระงานของบุคลากรงานเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก รวมถึงได้ทำหน้าที่ถ่ายโอนข้อมูลผลงานวิชาการจากโปรแกรม Greenstone มาลงในโปรแกรม DSpace โดยที่ไม่มีเวลาศึกษาผลกระทบและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการถ่ายโอนและหลังการถ่ายโอนข้อมูล จึงเป็นผลให้ข้อมูลหลายรายการขาดหายไป หลายรายการต้องนำเข้าใหม่โดยบุคลากรงานเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมเปิดให้บริการฐานข้อมูลผ่านอินทราเน็ต (URL : http://mulinet6.li.mahidol.ac.th) ต่อมา จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยและผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ตามคำสั่งหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ ๐๔๕.๑/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อดำเนินงานพัฒนาโครงการต่อมา
ยุคสาม (ธันวาคม 2555 - 22 เมษายน 2559)
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล มีการปรับโครงสร้างการบริหารงาน ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การแบ่งหน่วยงานภายในส่วนงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๔ กำหนดให้มีฝ่ายคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล มีคำสั่งแต่งตั้ง นางสาวลักขณา บำรุงชูเกียรติ เป็นหัวหน้าฝ่าย มีงานเผยแพร่ผลงานวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ภายใต้ฝ่ายคลังความรู้ มี นางสาวิตรี บุญปาลิต เป็นหัวหน้างาน รับผิดชอบพัฒนาฐานข้อมูลงานวิจัยและผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีคณะทำงานฐานข้อมูลงานวิจัยและผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลให้คำปรึกษา แนะนำการดำเนินงานผ่านการประชุม
การดำเนินงานในยุคที่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงตามโครงสร้างการบริหารงาน มีบุคลากรปฏิบัติงาน 2 คน คือ หัวหน้าฝ่าย และหัวหน้างาน ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลการดำเนินงานฐานข้อมูลงานวิจัยและผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล วางแผนการปฏิบัติงาน ประชุมคณะทำงาน นำเข้าข้อมูล ปรับปรุงข้อมูลในส่วนของแบบบันทึกข้อมูล ข้อกำหนดการลงรายการ ปรับเพิ่ม Sub-Community ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ประสานงาน ให้คำปรึกษาแก่สมาชิกผู้นำเข้าข้อมูล จัดอบรมการลงรายการในฐานข้อมูล ขออนุญาตเผยแพร่ผลงานไปตามคณะ/สถาบัน บรรณาธิการวารสารของมหาวิทยาลัยมหิดล จัดทำโครงการทำงานนอกเวลาเพื่อเพิ่มยอดนำเข้าข้อมูล ทดลองแนะนำให้เจ้าของผลงานนำเข้าด้วยตัวเอง และได้รับงบประมาณในการปรับเปลี่ยน Server ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อใช้จัดเก็บ และสำรองข้อมูล มีการเผยแพร่ฐานข้อมูลสู่สาธารณะเป็นครั้งแรก ตั้งแต่ เมษายน ๒๕๕๘ ด้วย URL : http:// dspace.li.mahidol.ac.th รวมทั้งจัดทำเว็บไซต์ภายใน (http://intranet.li.mahidol/muir/) ครอบฐานข้อมูลเพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูล รายงานสถิติการดำเนินงานรายเดือน ติดตามการนำเข้าข้อมูลเพื่อให้ได้ตามตัวชี้วัดที่กำหนด รายงานผลรายไตรมาส รายปี มีการเตรียมปรับปรุง โปรแกรม DSpace เป็นเวอร์ชั่น 5.4 รวมถึงการแบ่งชุมชน (Community) จากเดิม 6 สาขา เป็นแบ่งตามคณะ สถาบัน
ความเป็นมาในยุค พ.ศ. 2559 ถึงปัจจุบัน
คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) = Mahidol University’s Institutional Repository (Mahidol IR) อยู่ภายใต้การดำเนินงานของงานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย ฝ่ายคลังความรู้ เดิมใช้ชื่อว่าฐานข้อมูลงานวิจัยและผลงานวิชาการของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล โดยรวบรวมและจัดเก็บงานวิจัย ผลงานวิชาการของบุคลากรทุกคณะ / สถาบันในมหาวิทยาลัยมหิดล มีการจัดแบ่งชุมชน (Communities) ตามคณะ สถาบัน วิทยาลัย ศูนย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล และแบ่งชุมชนย่อยเป็นประเภทเอกสาร โดยใช้โปรแกรม Open Source คือ โปรแกรม DSpace เวอร์ชั่น 5.4
ประเภทของเอกสารในคลังสารสนเทศสถาบันฯ ประกอบด้วยบทความวารสารที่เข้าถึงได้โดยเสรี (Open Access article) บทความวารสารที่ตีพิมพ์ในวารสารที่จัดทำโดยคณะ/ สถาบัน ผลงานการขอเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน ได้แก่ คู่มือปฏิบัติงาน งานวิเคราะห์ งานสังเคราะห์ ตลอดจนหนังสือ /ตำราวิชาการที่แต่งโดยคณาจารย์คณะต่างๆ นำเข้าตามมาตรฐานดับลินคอร์ เมตาดาตา และคู่มือการลงรายการฐานข้อมูล Mahidol-IR ด้วยเมตาดาตา ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2557
ภารกิจ
SIPOC การจัดหาและจัดเตรียมผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดล
SIPOC การวิเคราะห์และนำเข้าผลงานวิชาการเข้าคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)
SIPOC การจัดการระบบบริการคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University’s Institutional Repository)
SIPOC งานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย
- ประสานงานบุคลากรคณะ สถาบัน ห้องสมุด ฝ่าย งาน เพื่อการได้รับผลงานวิชาการของบุคลากรเผยแพร่ในคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)
- รวบรวมงานวิจัย ผลงานวิชาการ ของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล [ SIPOC การแสวงหาผลงานประเภทหนังสือ/ตำรา, SIPOC การแสวงหาผลงานบุคลากรสายสนับสนุน, Flowchart การแสวงหา รวบรวม, Flowchart ลิขสิทธิ์, Flowchart สิทธิบัตร ]
- เตรียมงานวิจัย ผลงานวิชาการ ด้วยการขออนุญาตเผยแพร่ [SIPOC] การสแกนเอกสารให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ ลดขนาดไฟล์ ใส่ลายน้ำ ฝังเมตาดาทาให้พร้อมสำหรับนำเข้า [SIPOC]
- จัดเก็บงานวิจัย ผลงานวิชาการในรูปแบบฐานข้อมูลตามมาตรฐานเมตาดาทา ด้วยโปรแกรม DSpace [Flowchart ของนำเข้า], [Flowchart ของนำเข้าสายสนับสนุน]
- นำผลงานวิชาการของบุคลากรทุกประเภทที่อยู่ในฐานข้อมูลเดิมกลับเข้าคลังฯ [SIPOC]
- ตรวจสอบความถูกต้องผลงานวิชาการที่นำเข้า [SIPOC]
- เผยแพร่งานวิจัย ผลงานวิชาการ บนเว็บไซต์ http://repository.li.mahidol.ac.th เพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจทั่วไป
- จัดทำสถิติข้อมูลต่างๆ ได้แก่ สถิติการนำเข้าผลงานวิชาการ สถิติการเข้าใช้บริการด้วยโปรแกรม DSpace และ Google Analytic สถิติประเภทผลงาน สถิติ Top Ten ในคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล
- ให้บริการตอบคำถาม ช่วยการค้นคว้า ข้อมูลในคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) แก่ผู้ใช้ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
- ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าวสาร เกี่ยวกับคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล แก่ผู้รับบริการผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ [ Flowchart ]
- สำรวจการรับรู้ ความพึงพอใจเกี่ยวกับคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล ประเมินผลเพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินงาน
- ให้การต้อนรับ แนะนำ ฝึกอบรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย แก่นักศึกษาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สถาบันการศึกษาต่างๆ บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
แผ่นพับประชาสัมพันธ์
ผลการดำเนินงาน
แผนการดำเนินงาน
สถิติการดำเนินงาน
- สถิติผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2562
- สถิติผลการดำเนินงานเปรียบเทียบ 3 ปี [2560-2562]
- สถิติผลการดำเนินงาน ประจำปี พ.ศ. 2562 / 2563
- จำนวนผลงานและประเภทผลงานในคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) ปีงบประมาณ 2563
- สถิติการเข้าใช้คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) จาก Google Analytics
- สถิติการให้บริการตอบคำถามและประชาสัมพันธ์คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)
- รายชื่อวารสารที่อนุญาตให้เผยแพร่ในคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)
- Environment and Natural Resources Journal
- Journal of Applied Animal Science
- รามาธิบดีพยาบาลสาร
- รามาธิบดีเวชสาร
- วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข
- วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
- วารสารกุมารเวชศาสตร์
- วารสารประชากรและสังคม
- วารสารพยาบาลศาสตร์
- วารสารวิทยาลัยราชสุดา
- วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา
- วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์
- วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ
- วารสารภาษาและวัฒนธรรม
- วารสารสุขศึกษา
- Thai Journal of Public Health
โครงการที่รับผิดชอบ
ที่ | หมายเลขโครงการ | ชื่อโครงการ | สถานะ |
---|---|---|---|
1 | 64-S4-O9-01 | โครงการ Mahidol IR on Tour @ Salaya | อยู่ระหว่างดำเนินการ |
ที่ | หมายเลขโครงการ | ชื่อโครงการ | สถานะ |
---|---|---|---|
1 | 63-S1-O1-07 | โครงการเผยแพร่รายงานประจำปีของมหาวิทยาลัยมหิดลใน Mahidol IR | รายงานโครงการ |
2 | 63-S1-O1-15 | โครงการพัฒนา Digital Collection :COVID-19 @MU | รายงานโครงการ |
3 | 63-S1-O3-01 | โครงการเผยแพร่ผลงานลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหิดลในคลังสารสนเทศสถาบันฯ (Mahidol IR) | รายงานโครงการ |
4 | 63-S1-O3-02 | โครงการปรับปรุงการเผยแพร่บทความวารสารที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยมหิดลในคลังสารสนเทศสถาบันฯ (Mahidol IR)ให้เป็นปัจจุบัน | รายงานโครงการ |
5 | 63-S2-O1-06 | โครงการรวบรวมแหล่งข้อมูลสนับสนุนนักวิจัย เพื่อการเผยแพร่ผลงาน | รายงานโครงการ |
ที่ | หมายเลขโครงการ | ชื่อโครงการ | สถานะ |
---|---|---|---|
1 | 62-S1-O1-20 | โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ในคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) : หนังสือ ตำรา และรายงานการวิจัย | รายงานโครงการ |
2 | 62-S1-O1-21 | โครงการถ่ายโอนผลงานวิชาการ BioMed Central เข้าคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) | ยกเลิกโครงการ |
3 | 62-S1-O3-01 | โครงการเผยแพร่ทรัพย์สินทางปัญญาของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลในคลังสารสนเทศสถาบันฯ (Mahidol IR) | รายงานผลโครงการ |
4 | 62-S2-O2-08 | โครงการประชาสัมพันธ์คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) เชิงรุก (ระยะที่1) | สรุปผลการออกบูธประชาสัมพันธ์ ครั้งที่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10 รายงานผลโครงการ |
สถานที่ตั้ง
หัวหน้างานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย
นางสาวิตรี บุญปาลิต
Mrs.Sawitree Boonpalit
บรรณารักษ์ชำนาญการพิเศษ
อ.บ. (บรรณารักษศาสตร์), ม.ศิลปากร
นศ.บ. (การผลิตงานประชาสัมพันธ์), มสธ.
MU-SUP รุ่นที่ 7 พ.ศ. 2555
sawitree.yam@mahidol.ac.th
0-2800-2680-9 ต่อ 4306
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- รับผิดชอบการดำเนินงานของงานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย และกำกับ ดูแล ติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากรในสายงาน 2 คน
- วางแผนจัดทำและดำเนินโครงการ / กิจกรรมต่าง ๆ (ทั้งโครงการใหม่และโครงการต่อเนื่อง) เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และแผนกลยุทธ์ของหอสมุดฯ และของมหาวิทยาลัย
- สืบค้นข้อมูลผลงาน และนำเข้าข้อมูลผลงานวิชาการของบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล เช่นบทความวารสาร หนังสือ รายงานการวิจัย เอกสารการประชุมวิชาการ เอกสารประกอบการบรรยายผลงานบุคลากรสายสนับสนุนที่ได้รับเลื่อนตำแหน่ง ได้แก่ คู่มือปฏิบัติงาน งานวิเคราะห์ งานสังเคราะห์ เป็นต้น
- ตรวจสอบความถูกต้องของการนำเข้าข้อมูล การเชื่อมโยง และปรับแก้ไขข้อมูลทุกรายการในคลังสารสนเทศฯ ให้ถูกต้อง
- ให้บริการตอบคำถาม ช่วยการค้นคว้า และประชาสัมพันธ์ข้อมูลในคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) แก่ผู้สนใจทั่วไป
- ประสานงาน ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ และสร้างความร่วมมือกับบุคลากรหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล Mahidol IR ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
- รับผิดชอบนำผลงานวิชาการของบุคลากรทุกประเภทที่อยู่ในฐานข้อมูลเดิมกลับเข้าคลังสารสนเทศสถาบัน
- ให้การต้อนรับ แนะนำ ฝึกอบรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย แก่นักศึกษาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
- ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
-
ข้อตกลงการปฏิบัติงาน [ Intranet only ]
นางสาวทิพย์สุดา วนะวนานนท์
Ms.Thipsuda Vanavananon
นักเอกสารสนเทศ
รป.ม. (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ), ม.มหิดล
thipsuda.van@mahidol.ac.th
0-2800-2680-9 ต่อ 4306
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- รับผิดชอบสำรวจ รวบรวม คัดเลือก สืบค้นข้อมูลผลงานวิชาการของบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น จากเว็บไซต์คณะ สถาบัน ฐานข้อมูล OPAC ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อเตรียมนำเข้าคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)
- รับผิดชอบจัดเตรียมข้อมูลผลงานวิชาการให้พร้อมก่อนที่จะนำเข้าคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) เช่น สแกนเอกสาร ฝังเมตาดาทา บันทึกลายน้ำตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล ลดขนาดแฟ้มข้อมูล เป็นต้น
- รับผิดชอบนำผลงานวิชาการประเภทต่างๆ เข้าคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) เช่น
- หนังสือ / ตำรา / บทในหนังสือ
- รายงานการวิจัย
- บทความวารสารที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยมหิดล
- ผลงานวิชาการจากฐานข้อมูลสากล เช่น บทความ / หนังสือ / บทในหนังสือ เป็นต้น
- เอกสารการประชุมวิชาการ ฯลฯ
- ช่วยปฏิบัติหน้าที่ให้บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้าแก่ผู้ที่สนใจทั่วไป และประชาสัมพันธ์ข้อมูลในคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)
- ช่วยให้การต้อนรับ แนะนำ ฝึกอบรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย แก่นักศึกษาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สถาบันการศึกษาต่างๆ บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
- ปฏิบัติหน้าที่เก็บรวบรวม จัดส่ง ดูแลเอกสารราชการ การเบิกจ่ายวัสดุ ครุภัณฑ์ ของงานเผยแพร่ผลงานฯ
- ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
ข้อตกลงการปฏิบัติงาน [ Intranet only ]
นางสาวชญานิษฐ์ นิยม
Ms.Chayanid Niyom
บรรณารักษ์
วท.ม. (สัตวศาสตร์), ม.เกษตรศาสตร์
chayanid.niy@mahidol.ac.th
0-2800-2680-9 ต่อ 4306
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- รับผิดชอบสำรวจ รวบรวม คัดเลือก สืบค้นข้อมูลผลงานวิชาการของบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น จากเว็บไซต์คณะ สถาบัน ฐานข้อมูล OPAC ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อเตรียมนำเข้าคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR)
- รับผิดชอบจัดเตรียมข้อมูลผลงานวิชาการให้พร้อมก่อนที่จะนำเข้าคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) เช่น สแกนเอกสาร ฝังเมตาดาทา บันทึกลายน้ำตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล ลดขนาดแฟ้มข้อมูล เป็นต้น
- รับผิดชอบนำผลงานวิชาการประเภทต่างๆ เข้าคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) เช่น
- บทความวารสารที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยมหิดล
- ผลงานทรัพย์สินทางปัญญา
- ผลงานอื่น เช่น ผลงานสายสนับสนุน หนังสือ เป็นต้น
- จัดทำรายงานสถิติการดำเนินงานและการให้บริการ จากโปรแกรม DSpace และ Google Analytic เป็นรายเดือน/รอบประเมิน/รายปี
- ให้บริการวิชาการ และประชาสัมพันธ์คลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol IR) โดยจัดทำข้อมูล สื่อเผยแพร่ และบริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้าแก่ผู้ที่สนใจทั่วไป
- ช่วยให้การต้อนรับ แนะนำ ฝึกอบรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย แก่นักศึกษาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ สถาบันการศึกษาต่างๆ บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
- ปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
ข้อตกลงการปฏิบัติงาน [ Intranet only ]